เปลี่ยนการแสดงผล thA-AA+

"หากท่านต้องการดุนยาก็จงศึกษา หากต้องการอาคีเราะห์ก็จงศึกษา หากต้องการทั้งดุนยาและอาคีเราะก็จงศึกษา" ???????? เรียนฟรี ไม่มีค่าเทอม ต้องที่โรงเรียนอิสมาอีลียะห์มูลนิธิ ????????

ประวัติ

ประวัติ

โรงเรียนอิสมาอีลียะห์มูลนิธิ

โรงเรียนอิสมาอีลียะห์มูลินธิ ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากปณิธานของท่านฮัจยีแอ ใจสมุทร ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตรัง ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้จังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีการศึกษาวิชาการศาสนาเหมือนกับจังหวัดใกล้เคียง พ่อ แม่ ผู้ปกครองไม่ต้องส่งบุตรหลานไปเรียนไกลถึงต่างจังหวัด ด้วยปณิธานดังกล่าว ท่านจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นในตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนอิสมาอีลียะห์ราษฎร์อุปถัมภ์”

โรงเรียนอิสมาอีลียะห์ราษฎร์อุปถัมภ์ ตั้งอยู่เลขที่ 130 ถนนตรัง – ปะเหลียน ตำบลสุโสะ

อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ทั้งหมด 4 ไร่ มีประวัติการดำเนินงาน ดังนี้

ปี พ.ศ. 2516 นายฮัจยีแอ ใจสมุทร อดีตประธานกรรมการอิสลามจังหวัดตรัง ผู้ริเริ่มก่อสร้างโดยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตรังและคณะกรรมการมัสยิดในจังหวัดตรังเพื่อจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาประเภทนี้ และได้มอบหมายให้นายเดช จินดาสวัสดิ์ เลขานุการกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตรัง ให้ดำเนินการจัดหาทุนมาก่อสร้าง และได้สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 ด้วยเงินงบประมาณ 80,000 บาท โรงเรียนอิสมาอีลียะห์ราษฎร์อุปถัมภ์ มัสยิดสู่หยู่ดนอิสลามเป็นเจ้าของโดยได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายทะเบียนเลขที่ 26 และทางมัสยิดได้แต่งตั้งนายอินทร์ ใจสมุทร เป็นตัวแทนเจ้าของ นายสมหมาย ใจสมุทร เป็นผู้จัดการและนายวีระ เจริญฤทธิ์ เป็นครูใหญ่ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามใบอนุญาตเลขที่ 1 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2521 และทางราชการได้ออกใบสำคัญให้แก่บุคคลทั้งสามเป็นที่เรียบร้อยและได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่

6 ตุลาคม 2521 หลังจากที่โรงเรียนสอนได้ระยะเวลาหนึ่งโรงเรียนได้ประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเพราะไม่ได้รับความสนับสนุนจากผู้ปกครองเพราะโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรวิชาศาสนาเพียงอย่างเดียว

ปี พ.ศ. 2547 นายวีระ เจริญฤทธิ์ ในฐานะอิหม่ามัสยิดสู่หยู่ดนอิสลาม มีดำริที่จะปรับปรุงกิจการของโรงเรียนให้สามารถดำเนินงานได้อีกครั้ง จึงได้นำเรื่องเข้าประชุมคณะกรรมการมัสยิดและชุมชนโดยนำเสนอที่จะปรับปรุงกิจการเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยใช้หลักสูตรวิชาศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญเปิดสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ และนายวีระ เจริญฤทธิ์ ได้เสนอให้นายสะอารี เอียดวารี เป็นผู้ติดต่อประสานงานในการปรับปรุงกิจการโรงเรียนที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และได้ดำเนินการมาเป็นระยะ ๆ

ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้ยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตขยายกิจการโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ลงนาม และผ่านเรื่องมายังเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต1 โดยนายธำรง เจริญกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตรังลงนามอนุมัติ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 เป็นโรงเรียนเอกชนมาตรา 15(1) ประเภทสามัญศึกษา เปิดทำการเรียนการสอน สองระดับคือระดับอนุบาลและประถมศึกษาโดยใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายวีระ เจริญฤทธิ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต นางสาวสนธยา ใจสมุทร เป็นผู้จัดการ และนายสะอารี เอียดวารี เป็นครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2550 จดทะเบียนมูลนิธิฮัจยีแอ ใจสมุทร และได้โอนกิจการโรงเรียนมาอยู่ในการดูแลของมูลนิธิฮัจยีแอ ใจสมุทร และขอเปลี่ยนประเภทโรงเรียนเป็นโรงเรียนการกุศล มาตรา 15 (3)

ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน ปี 2525 และได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน ปี 2550

มีผลทำให้โรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงกิจการจากโรงเรียนเดิมเป็นโรงเรียนนิติบุคคลหรือโรงเรียนในระบบและได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารเป็น ผู้ลงนามแทน

ผู้รับใบอนุญาต (ตามประเภทของโรงเรียน) ผู้จัดการและผู้อำนวยการและในปีเดียวกันโรงเรียนได้ขอเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการจาก

นางสาวสนธยา ใจสมุทร มาเป็น นายจำลอง ใจสมุทร และได้ขอเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนจาก “โรงเรียนอิสมาอีลียะห์ราษฎร์อุปถัมภ์” มาเป็น

“โรงเรียนอิสมาอีลียะห์มูลนิธิ”




 

^